1.3 การวัดปริมาณสาร


สมบัติของสสารเชิงปริมาณจะเกี่ยวข้องกับตัวเลขที่วัดได้จากเครื่องมือต่าง ๆ เช่น กระบอกตวง ขวดวัดปริมาตร 
บิวเรต ปิเปต เครื่องชั่ง ฯลฯ ซึ่งตัวเลขที่วัดได้โดยตรงนั้นต้องมีหน่วยกำกับจึงจะเกิดความชัดเจน ดังตัวอย่าง นายแดงต้องการซัลฟิวริกเข้มข้น 12 ตัวเลข 12 ไม่มีหน่วย จึงไม่รู้ว่านายแดงต้องการกรดซัลฟิวริกเข้มข้น 12 โมลาร์ หรือ 12 นอร์มอล หรือ 12 โมแลล หรือร้อยละ 12 หรือ 12 ppm ดังนั้นค่าของปริมาณจะต้องมีหน่วยของการวัดกำกับไว้ด้วยเสมอ
อุปกรณ์วัดปริมาตร
                อุปกรณ์วัดปริมาตร (volumetric apparatuses) เป็นอุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ใช้สำหรับวัดปริมาตรของเหลวที่ต้องการความแม่นยำ (accuracy) สูง มีขีดและตัวเลขแสดงปริมาตร ซึ่งได้รับการสอบเทียบและกำหนดความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ (tolerance of error)

     อุปกรณ์วัดปริมาตร ได้แก่

          1. ปิเปตต์ (pipette)

          2. บีกเกอร์ (beaker)

          3. บิวเรตต์ (burette)

          4. หลอดหยด (dropper)

          5. หลอดฉีดยา (syringe)

          6. กระบอกตวง (cylinder)

          7. ขวดวัดปริมาตร (volumetric flask) 
     อุปกรณ์วัดปริมาตร มีความสำคัญต่องานวิเคราะห์ทดสอบหาปริมาณสาร ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์โดยวิธีแบบดั้งเดิม (classical method) และการวิเคราะห์โดยเครื่องมือวิเคราะห์สมัยใหม่ (instrumental method)  ซึ่งมีความจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์วัดปริมาตรในการเตรียมสารละลายที่ต้องการความเข้มข้นที่ถูกต้อง เช่น สารละลายตัวอย่าง  สารละลายมาตรฐาน ถ้าหากอุปกรณ์วัดปริมาตรที่ใช้มีความคลาดเคลื่อนสูง ไม่สะอาด หรือนำมาใช้ไม่ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ อาจทำให้ผลการวิเคราะห์ทดสอบนั้นมีความคลาดเคลื่อนสูงด้วย
     ผู้ใช้อุปกรณ์วัดปริมาตร จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องศึกษาและทำความเข้าใจทั้งขั้นตอนและรายละเอียดที่ปรากฎบนเครื่องแก้วรวมทั้งสิ่งที่แสดงเป็นสัญลักษณ์อื่นๆ เช่น แถบสีต่างๆ ซึ่งใช้แสดงขนาด วงสีขาวซึ่งแสดง blow-out pipette เป็นต้น

เลขนัยสำคัญ
                เลขนัยสำคัญ (significant figure) หมายถึง จำนวนตัวของตัวเลขที่มีค่าความหมายในปริมาณที่วัด หรือคำนวณได้ เมื่อนับจำนวนเลขนัยสำคัญแล้วก็เป็นที่เข้าใจกันว่า ตัวสุดท้ายเป็นค่าที่ไม่แน่นอน ตัวอย่างเช่น เราอาจวัดปริมาตรของของเหลวที่กำหนดให้โดยใช้กระบอกตวง ซึ่งมีมาตราส่วนที่ทำให้การวัดมีความ คลาดเคลื่อน 1 cm 3 ถ้าวัดปริมาตรได้ 6 cm 3 แสดงว่าปริมาตรจริงอยู่ ในช่วงระหว่าง 5 cm 3 กับ 7 cm 3 จะ เขียนปริมาตรของเหลวนี้เท่ากับ 6 + 1 cm 3
การปัดตัวเลข
                การปัดตัวเลข (Rounding the results) เมื่อมีข้อมูลตัวเลขทศนิยมหลายตำแหน่ง การจัดการกับ ตัวเลขเหล่านั้น เพื่อให้ได้ตัวเลขที่ มีจุดทศนิยมที่เหมาะสม โดยเฉพาะตัวสุดท้ายจะปัดขึ้นหรือปัดทิ้ง
ที่มา : http://elife-news.blogspot.com
https://il.mahidol.ac.th
http://chem.sci.ubu.ac.th
http://reo06.mnre.go.th


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น