ลุ้นดันยกเลิก"3สารเคมีอันตราย"อีกรอบ
"หมอธีระวัฒน์
"เผยเตรียมผลักดัน ให้คณะกรรมการปฏิรูประบบสาธารณสุข
หยิบปัญหารัฐบาล ตั้งกรรมการซ้อนกันหลายชุดพิจารณา
"ไกลโฟเซต -คลอร์ไพริฟอส"ทั้งที่ 3กระทรวงมีมติ
ให้ยกเลิกไปแล้ว กางข้อมูลตอกย้ำสารเคมี3ชนิด มีความเสี่ยงสูง เป็นสารก่อมะเร็ง หากสะสมในร่างกายทำลายอวัยวะต่างๆ ส่งผลเด็กผิดปกติสติปัญญา และเกิดการเบี่ยงเบนทางเพศ
13 ส.ค.61-ศ.นพ.ธีระวัฒน์
เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่
คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ในฐานะกรรมการปฏิรูประบบสาธารณสุข
กล่าวถึงผลกระทบจากการใช้สารเคมีไกลโฟเซตและคลอร์ไพริฟอสว่า นอกจาก พาราควอตที่มีผลต่อสุขภาพประชาชนชัดเจนแล้วนั้น
ยังพบว่าไกลโฟเซตมีกลไกทำปฏิกิริยากับโลหะหนัก
ซึ่งสามารถสะสมในร่างกายและเข้าไปทำลายอวัยวะต่างๆในร่างกายได้ จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก( WHO)
ระบุว่าไกลโฟเซต จัดอยู่ในสารพิษชนิด 2A จากข้อมูลวิชาการของแคลิฟอร์เนีย
เขียนไว้ชัดเจนว่าเป็นสารก่อมะเร็ง
นอกจากนี้จากข้อมูลของศรีลังกายังพบว่าสารเคมีเกษตร 2ชนิด จะส่งผลทำให้เกิดโรคไตวาย
และสามารถพบได้ในเลือดเด็กแรกเกิดที่เกิดจากแม่ที่อาศัยในพื้นที่เกษตรกรรมมากกว่าแม่ที่ไม่ได้อาศัยในพื้นที่เกษตรกรรมถึง
49-54% ซึ่งจากข้อมูลไกลโฟเซตไม่ได้สลายได้ในดินทันที
แต่สามารถกระจายไปในสิ่งแวดล้อม แหล่งน้ำ และผักผลไม้ที่เรารับประทาน
และในส่วนของคลอร์ไพริฟอส นั้นในปี 2011 มีการศึกษาว่าเด็ก 7
ขวบหรือน้อยกว่ามีความผิดปกติทางด้านสติปัญญาจากการได้รับคลอร์ไพริฟอสเข้าสู่ร่างกาย
และจากการทดลองในสัตว์ทดลองมีการตั้งข้อสังเกตว่าคลอไพริฟอสจะไปรบกวนการแสดงออกทางด้านเพศ จากเพศหนึ่งไปอีกเพศหนึ่ง
ซึ่งในเรื่องนี้ยังไม่ชัดเจนจะต้องมีการศึกษาต่อไป
โดยในประเทศไทยเองก็ได้มีการเสนอให้มีการแบน
พาราควอต คลอร์ไพริฟอส และควบคุมการใช้ไกลโฟเซต และมีการยืนมติแบนโดย 3 กระทรวง คือ กระทรวงสาธารณสุข
กระทรวงเกษตรและสหกรห์และกระทรวงอุตสาหกรรม
และเมื่อวันที่ 23 พ.ค.คณะกรรมการวัตถุอันตรายกลับมีการตัดสินให้มีการใช้สารเคมีทั้ง 3 ชนิดได้ต่อไป
แบบมีการจำกัดการใช้ ซึ่งเป็นเรื่องที่แปลกประหลาดมาก
อย่างไรก็ตาม เมื่อต้นปี 2561ก็ได้มีการปรึกษากับทางกระทรวงสาธารณสุขว่าควรให้มีการแบนไกลโฟเซตไปด้วย
ไม่ใช่เพียงแค่การจำกัดการใช้
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าวว่า
หลังจากคณะกรรมการวัตถุอันตรายได้มีการตัดสินไม่แบนสารพิษทั้ง 3 ชนิดแล้ว ทางนายกฯ
ก็ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการ ชื่อคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีความเสี่ยงสูง
โดยตนเป็นหนึ่งในคณะกรรมการ ซึ่งในความคิดเห็นส่วนตัวมองว่าที่ผ่านมา
มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาหลายชุดมากในการพิจารณาเรื่องนี้ เป็นเหมือนกรรมการซ้อนกรรมการทำให้การพิจารณายืดเยื้อออกไป เพราะเวลาให้มีการแสดงหลักฐาน
ก็จะมีการเสนอหลักฐานเก่าไม่ใช้หลักฐานปัจจุบัน
หรือมีคณะกรรมการที่มีผลประโยชน์ทับซ้อนให้การสนับสนุนกลุ่มผู้ผลิตสารเคมี ซึ่งแม้ว่าจะมีมาตรการเข้มข้นเหมือนที่ผ่านมาตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข ตนคิดว่าผลออกมาก็จะออกมาในลักษณะเดิม ซึ่งในวันที่
14 ส.ค.คณะกรรมการปฏิรูประบบสาธารณสุข
จะมีการประชุมกัน ตนจะมีการเสนอให้มีการทำเรื่องเสนอผ่าน
รมว.สธ. ว่าการตั้งคณะกรรมการดังกล่าวเป็นการกระทำขัดมติ
ขัดระเบียบ ของ 3 กระทรวงที่มีการยืนมติเดิมให้มีการแบนสารเคมีทั้ง 3 ชนิดแล้ว
“ในวันที่ 14 ส.ค.นี้ คณะกรรมการปฏิรูประบบสาธารณสุข
จะมีการประชุมกัน ซึ่งในการปฏิรูประบบสาธารณสุข เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคนั้นชัดเจน ในเรื่องของอาหารปลอดภัย
ซึ่งอาหารปลอดภัยก็สอดคล้องกับการปลอดสารเคมี
ตามพ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาเกษตรยั่งยืน
ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่อยู่ในระหว่างร่างกฎหมาย
แต่ก็กลุ่มนายทุนผู้ผลิตสารเคมีออกมายื่นหนังสือคัดค้าน
ซึ่งหากมีสารเคมีแล้วอาหารไม่ปลอดภัย
คณะกรรมการปฏิรูปฯต้องโดนม. 157 แห่งประมวลกฎหมายอาญา
คือการละเว้นหน้าที่ที่ควรทำด้วยหรือไม่
คำถามคือในเมื่อ นายกฯ ไม่ประกาศตัดสินให้มีการแบนการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ”ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าว.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น