ธาตุแทรนซิชัน (transition
elements) ตามความหมายเดิม หมายถึง
ธาตุที่เมื่ออยู่ในสภาพที่ไม่ว่าจะเป็นธาตุอิสระ หรือเป็นองค์ประกอบของสารประกอบ
มีอิเล็กตรอนอยู่ไม่เต็มในระดับพลังงานย่อย d หรือ f
ธาตุแทรนซิชันตามความหมายใหม่ หมายถึง ธาตุที่ไอออนของมันอย่างน้อย 1 ไอออนมีอิเล็กตรอนในระดับพลังงานย่อย d ไม่ครบ
ถ้าจะถือว่าทุกธาตุที่อยู่ในหมู่ย่อย B เป็นธาตุแทรนซิชัน
ก็พบว่ามีบางธาตุที่ไม่ได้เป็นไปตามนิยามใหม่ ธาตุเหล่านี้ได้แก่ Se และ Zn เป็นต้น ซึ่งมีโครงแบบอิเล็กตรอน
ดังนี้
Se =
21 => [Ar] 3d1 4s2
Sc3+ =
18 => [Ar] หรือ 1s2 2s2
2p6 3s2 3p6
Zn = 30 => [Ar] 3d10 4s2
Zn2+
= 28 => [Ar] 3d10
สมบัติทั่วไป
ธาตุแทรนซิชันมีสมบัติทั่วไปดังนี้
1. ธาตุแทรนซิชันทุกธาตุเป็นโลหะ
2. สารประกอบของธาตุแทรนซิชันหลายชนิดเป็นสารพาราแมกเนติก
3. สารประกอบของธาตุแทรนซิชันส่วนใหญ่มีสี
4. มีเลขออกซิเดชันได้หลายค่า
5. นำไฟฟ้า และนำความร้อนได้ดี
เลขออกซิเดชัน
โครงแบบอิเล็กตรอนเป็นสิ่งสำคัญในการใช้ศึกษาปฏิกิริยาเคมีของธาตุ
เพราะเป็นตัวกำหนดสมบัติทางกายภาพ และทางเคมีของธาตุ
สำหรับธาตุแทรนซิชันพวกกลุ่ม d อิเล็กตรอนในออร์บิทัล d และ s ในระดับพลังงานสูงสุดจะมีเกี่ยว ข้องในปฏิกิริยาเคมี ดังนั้น
อะตอมของธาตุที่มีจำนวนอิเล็กตรอนก่อนในออร์บิทัล d และ s เข้าไปเกี่ยวข้องในปฏิกิริยาเคมีไม่เท่ากัน
จึงมีสมบัติไม่เหมือนกัน
การที่อิเล็กตรอนในออร์บิทัล d มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดพันธะเคมี
จึงทำให้ธาตุแทรนซิชันแต่ละธาตุมี เลขออกซิเดชันได้หลายค่า
ทีมา : https://sites.google.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น